วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไท

ด้วยลักษณะของอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่แฝงมาในรูป ต่างๆ ตามสื่อมวลชนภาพยนต์ ซึ่งเราบริโภคอยู่จนคิดว่าเป็นวัฒนธรรมสากล จนหลงไปว่าเป็นอารยธรรม จนทำให้เราหลงลืมภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ดีงามไป และมีอิทธิพลต่อวิธีคิดวิธีทำงานของพวกเราเป็นอย่างมาก จนยากที่จะถอนออกไปได้ ซึ่งพอสรุปเป็นเรื่องหลักๆ ได้ 3 ประการคือ ความเป็นปัจเจกบุคคล การแข่งขัน และการมองโลกแบบเครื่องจักร
ความเป็นปัจเจกนำไปสู่การเห็นแก่ตัวขาดความสัมพันธ์กับ สิ่งรอบตัว ทำให้ไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ที่ควรจะเป็นไม่สามารถที่จะรวมพลังกันที่จะทำ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้น การแข่งขันที่ไม่ใช่เฉพาะแข่งดี แต่เป็นการแข่งกันทำลายล้างกันในขณะเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากความพยายามที่จะพิชิตโลกที่จะเป็นหนึ่งอันก่อให้เกิดการ ทำลายสิ่งแวดล้อม เบียดเบียนเพื่อมนุษย์ด้วยกันอย่างไม่รู้ตัว และการมองโลกแบบเครื่องจักร ที่คิดให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเครื่องจักรที่ควบคุ้มด้วยกฏเกณฑ์ทางฟิสิกส์ แบบนิวตัน ซึ่งก่อให้เกิดความซับสนและความขัดแย้ง ไม่สามารถที่จะเห็นถึงผลกระทบในองค์รวม และความสัมพันธ์เชื่อมโยง ซึ่งสิงที่เห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งก็คือเราไม่สามารถที่จะอยู่ในโลกนี้ได้ อย่างมีความสุขและสมานฉันท์


ด้วยแนวคิดตามความเชื่อดังกล่าวยังคงมีอิทธิพลต่อสังคม และองค์กรอยู่ทุกหัวระแหง ทำให้ยิ่งมีการพัฒนาก็ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องมากมาย และก็ยังคงดำรงสภาพนี้ต่อไปถ้าหากไม่ทำอะไรที่จะแก้ปํญหา ผู้นำจะต้องออกมาช่วยเหลือในส่วนนี้ โดยสร้างการมีส่วนร่วม และสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น ผู้นำอย่างได้เป็นปํญหาเสียเอง ซึ่งทุกวันนี้ผู้นำยุคปัจจุบันยังคงวนเวียนกับการที่ไม่รู้ว่าจะทำงานร่วม กันอย่างไร การจัดหาสรรหา สิ่งที่จำเป็นและต้องการอย่างรวดเร็วได้อย่างไร และจะทำงานให้บรรลุผลตรงตามจุดประสงค์เป้าหมายได้อย่างไร เราต้องเปลี่ยนแนวคิดจากสิ่งที่ทำให้เราอยู่แยกกัน และแบ่งแยกทุกสิ่งทุกอย่าง ให้มีพฤติกรรมองค์กรใหม่อย่างเร่งด่วน ในการเรียนรู้ การทำงานร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง เปลี่ยนการมองแบบเครื่องจักรมาเป็นแนวคิดที่ยืดหยุ่น
ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน


ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
2. ด้ารการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชการลที่ 5 มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ในปัจจุบัน
4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่นประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์ จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา
5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น
โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟ การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง เป็นทหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
ฮอลันดาเข้ามาสมัยในสมัยพระนเรศรวรมหาราช อาคารที่ฮอลันดาสร้าง ไทยเรียกว่า "ตึกวิลันดา" นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้ว กล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮอลันดา
อังกฤษ เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์ มีต่ำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
ฝรั่งเศส เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้านการแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อประปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
ในสมัยอยุธยาตอนปลายความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลงและหยุดชะงักไปใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิดสัมพันธ์ทางการทูต เพราะตะหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการป้องกันการแทรกแซงภายใน วัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมวงศานุวงศ์ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฎิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
2. เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขาย ตั้งธนาคารแห่งแรก คือ บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาคือธนาคารไทยพาณิชย์
3. ด้านสังคม เลิกระบบหมอบคลานมาเป็นแสดงความเคารพ ให้นั่งเก้าอี้แทน เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย จัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง เด็กชาย 
สรุปได้ว่า คนไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองมาตั้งแต่สุโขทัย ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นชาติที่มีความรัก ความสามัคคีและสงบสุข อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยก็เหมือนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน คือ
1. มีวัฒนธรรมดังเดิมเป็นของตนเอง
2. รับเอาวัฒนธรรมอื่นจากภายนอกที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน มาผสมผสานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม